โรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
โรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เข้าสู่ฤดูฝนก็เป็นอีกหนึ่งฤดูที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศและความชื้นที่เปลี่ยนไป นำมาซึ่งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งทุกคนควรระมัดระวังและดูแลสุขภาพของตัวเองให้ห่างจากโรคดังกล่าว สำหรับโรคที่มักมากับหน้าฝน วันนี้เราก็ได้รวบรวมมาให้แล้วเช่นกัน
ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการ
เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากเรามีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
อาการ
ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ระยะฟักตัว 1-4 วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน
- ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะปวดตามแขน ขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ปวดเมื่อยตามตัว
- ไข้สูง 39-40 องศา
- เจ็บคอ และคอแดง มีน้ำมูกใสๆ ไหล
- ไอแห้งๆ ตามตัวจะร้อนแดง ตาแดง
- อาเจียน หรือท้องเดิน เป็นไข้ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูกและแสบคอ
ยังคงอยู่ โดยทั่วไปจะหายใน 1 สัปดาห์
วิธีรักษา
- เมื่อมีไข้ควรหยุดเรียนหรือหยุดงาน ควรแยกตัวและสิ่งของเครื่องใช้จากผู้อื่น และไม่นอนปะปนหรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น
- นอนพักผ่อนให้มาก ๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนัก และยังไม่ควรออกกำลังกายในระหว่างนี้
- ห้ามอาบน้ำเย็น
- ดื่มน้ำสะอาด น้ำเกลือแร่ น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
และการขาดเกลือแร่ (เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม)
- ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง ถ้าหากไข้ยังไม่ลดลง ให้รับประทานยาพาราเซตา
มอล (Paracetamol) เพื่อลดไข้แก้ปวด ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรมได้
- ถ้ามีอาการไอให้จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว หรือให้รับประทานยาแก้ไอ สำหรับผู้ที่เจ็บคอ
ให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น (น้ำ 1 แก้วผสมกับเกลือ 1 ช้อน)
7. แพทย์จะให้น้ำเกลือสำหรับผู้ป่วยที่ดื่มน้ำไม่พอ ให้ยาลดน้ำมูกหากมีน้ำมูก
8. ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้า
ห้องน้ำ
9. รับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น และพยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน
10. เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเสมอ
11. ใช้ทิชชูในการสั่งน้ำมูกหรือเช็ดปาก ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า หลังจากใช้เสร็จให้ทิ้งทิชชูให้ถูกสุขอนามัย
12. เวลาเข้าไปในที่ที่มีคนอยู่กันมาก ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง
13. งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
14. พยายามรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง ช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดการแพร่เชื้อ
15. ถ้าไข้ลดลงแล้วควรอาบน้ำอุ่นอีก 3-5 วัน
16. ผู้ป่วยบางรายหลังจากหายตัวร้อนแล้ว อาจมีอาการไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาว อยู่เรื่อย ๆ ซึ่งอาจนานถึง 7-8 สัปดาห์ เนื่องจากเยื่อบุทางเดินหายใจถูกทำลายชั่วคราว จึงทำให้ไวต่อสิ่งระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควัน ได้ง่าย หากมีอาการดังกล่าวแนะนำว่าให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ แล้วอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงไปได้เอง
17. สำหรับยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไซนัสอักเสบ มีน้ำมูกหรือเสมหะสีเหลืองหรือเขียว หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น
18. ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อมีไข้สูงเกิน 39-40 องศาเซลเซียส และไข้ไม่ลดลงหลังจากรับประทานยาลดไข้ภายใน 3 วัน (ภายใน 1-2 วัน สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง), ไอมาก มีเสมหะ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว (แสดงว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน), มีผื่นขึ้น, รับประทานอาหารได้น้อยหรือดื่มน้ำได้น้อย, อาการไม่ดีขึ้นหลังไข้ลงหรือหลังไข้ลงกลับมามีไข้อีก, อาการต่าง ๆ เลวลง, เป็นโรคหืด (เพราะโรคหืดมักกำเริบและควบคุมเองไม่ได้) หรือเมื่อมีความกังวลในอาการ
ไข้หวัดธรรมดา
เป็นโรคที่พบบ่อยมาก ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมักพบเป็นหวัด
ได้บ่อยถึงปีละ 6 – 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาล จึงมีโอกาสเป็นหวัดได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่
อาการ
- มีอาการไม่รุนแรง อาจมีไข้ (แต่ไข้สูงไม่เกิน 38°เซลเซียส) อาจปวดศีรษะ (ไม่มาก) ปวดเมื่อยตัว แสบตา คัดจมูก จาม ไอ เสียงแหบ น้ำมูกไหล อาจมีอ่อนเพลีย (แต่ไม่มาก)
- บางครั้งอาจมีอาการ เจ็บคอ ปวดท้อง อาเจียน หรือ ท้องเสียได้บ้าง
- อาการแตกต่างกันได้มากในแต่ละครั้งของการเป็นหวัด แต่โดยทั่วไปอาการไม่มาก
- ปกติมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ หากมีอาการป่วยนานกว่านั้น อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ควรพาไปพบพบแพทย์โดยเร็ว
วิธีรักษา
1. พักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ
2. ใช้ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ยาแก้คัดจมูก หรือยาลดไข้
3. อาการจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
- โรคต่อมทอนซิลอักเสบ
เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิลส่วน”คออักเสบ”(pharyngitis)มักใช้เรียกภาวะอักเสบของ
เนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดพร้อมกันได้
อาการ
ในระยะเริ่มแรก จะมีไข้สูง อ่อนเพลียและปวดศีรษะ
อาการที่เด่นชัด คือ เจ็บคอเวลากลืน อาจมีเสียงเปลี่ยนจากภาวะต่อมทอนซิลโต มีน้ำลาย
มากจากกลืนน้ำลายไม่ค่อยได้ มีอาการปวดร้าวไปที่หู ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต กดเจ็บ
วิธีรักษา
- รักษาทอนซิลอักเสบโดยให้ยาตามอาการ เช่น ยาแก้เจ็บคอ ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้อักเสบ
- เมื่อมีอาการเจ็บคอ กลืนอะไรลำบาก ควรเลือกกินอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป เป็นต้น
- พยายามกลั้วคอทำความสะอาดคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ หรือน้ำยาบ้วนปากอ่อนๆที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือน้ำเปล่าก็ได้ อย่าให้เศษอาหารตกค้างบริเวณลำคอ ช่องปาก เพราะจะทำให้ทอนซิลอักเสบเพิ่มขึ้น
- ตัดต่อมทอนซิลอออก แพทย์อาจจะพิจารณาให้ตัดต่อมทอนซิลออก หากต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยๆและมีการเพราะการตัดต่อมทอนซิลทิ้งไม่อันตรายและไม่มีผลเสียอะไร
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
อุจจาระร่วงเป็นกลุ่มอาการที่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มาจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป
อาการ
- มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
- อุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด หรือีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
- ร่างกายอ่อนเพลียมาก
- อาเจียนอย่างรุนแรงหลายครั้ง
- อุจจาระมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
วิธีรักษา
- ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการอุจจาระร่วง ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรืออาหารเหลวที่เตรียมได้เองในบ้านเพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น น้ำข้าว (ใส่เกลือ
2 หยิบมือ) น้ำแกงจืด น้ำผลไม้ โจ๊ก หรือข้าวต้ม และให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ทุกครั้งที่ถ่ายเหลว โดยให้ในสัดส่วนที่ถูกต้อง ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ให้ดื่ม 50-100 ซีซี (1/4-1/2 แก้ว) เด็กอายุ 2-10 ปี ดื่ม 100-200 ซีซี (1/2-1 แก้ว) อายุ 10 ปีขึ้นไปให้ดื่มได้มากกว่า 1 แก้ว หรืออาจเตรียมสารละลายเกลือแร่ได้เอง โดยการผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา กับน้ำต้มสุกเย็น 750 ซีซี (1 ขวดน้ำปลากลม)
- สำหรับเด็กที่ยังกินนมแม่ ให้กินต่อไปโดยไม่ต้องหยุด ส่วนเด็กที่กินนมผสม ให้ผสมตามปกติแล้ว ให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สลับกันไป
- ไม่ต้องงดอาหารในระหว่างท้องร่วง ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้มผสมผัก ปลา เนื้อสัตว์ต้มเปื่อย
- การรักษาดังกล่าว จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น ยังคงถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก อาเจียนบ่อย กระหายน้ำมาก ตาลึกโหล กินอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ มีไข้ ถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน ให้นำผู้ป่วยไปตรวจรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านต่อไป
- ไม่จำเป็นต้องกินยาหยุดถ่าย เพราะภาวะอุจจารร่วงส่วนใหญ่จะหายได้เองและการถ่ายอุจจาระเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับของเสีย สารพิษ และเชื้อโรคออกจากร่างกาย การกินยาหยุดถ่ายไม่ได้ทำให้ร่างกายลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ภายในลำไส้ และยังอาจรบกวนประสิทธิผลของยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อลำไส้อักเสบ
- การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และควรใช้เฉพาะในรายที่เป็นบิด ถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปน และในรายที่เป็นอุจจาระร่วงอย่างแรง หรือมีอาการอื่นแทรกซ้อน การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอาจกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาหรือดื้อยาได้
โรคเยื่อบุตาอักเสบ
เยื่อบุตาอักเสบ หรือ ตาแดง (Conjunctivitis) เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นติดเชื้อ ภูมิแพ้ ถูกสารเคมี เป็นต้น แต่ที่พบได้บ่อยและติดต่อกันได้ง่ายมาก คือโรคเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส
อาการ
- ตาแดงที่ตาขาวหรือเปลือกตาด้านใน
- คันตา แสบตา
- ตามัว
- ยื่อบุตาบวม
- มีการผลิตน้ำตามากขึ้นกว่าปกติ
- ตาแฉะ หรือน้ำตาไหล
- รู้สึกมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ในตา
- ตาไวต่อแสง
- มีขี้ตาสีเหลืองที่เปลือกตาหรือขนตา ซึ่งอาจทำให้ลืมตาได้ลำบากในเวลาตื่นนอนตอนเช้า
- เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ อาการหวัด หรือการติดเชื้อเกี่ยวกับการหายใจ
- เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย มักจะมีอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งและแพร่เชื้อไปยังตาอีกข้าง ทำให้ขี้ตามีสีเหลืองหรือเขียว และบางรายอาจพบว่าเกิดขึ้นพร้อมกับการติดเชื้อในหู
- เยื่อบุตาอักเสบที่มีสาเหตุจากการแพ้ มักมีอาการ เช่น คันตา น้ำตาไหล หรือตาบวม
- ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์แล้วใส่ไม่เข้าที่หรือรู้สึกไม่สบายตา
วิธีรักษา
- ไม่ขยี้ตาแม้จะคันเพียงใด เนื่องจากจะทำให้อาการตาแดงแย่ลง
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบดวงตา
- ใช้ยาหยอดตาหรือน้ำตาเทียม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ยาประเภทนี้จะช่วยลดอาการปวดและเคืองตา อย่างไรก็ตาม ต้องใช้ยาตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง
- เช็ดทำความสะอาดของเสียที่เกาะบนเปลือกและขนตาด้วยสำลีเช็ดทำความสะอาดชุบน้ำ
- ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสดวงตา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
- ใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ตัวยาที่มักใช้กับภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ คือ คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) และกรดฟูซิดิก (Fusidic acid)
- สิ่งสำคัญคือ หากคุณยังมีอาการเจ็บตา อ่อนไหวต่อแสง สูญเสียการมองเห็น หรือมีอาการตาแดงที่รุนแรง ไม่ว่าจะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หลังผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์
โรคไข้เลือดออก
เป็นโรคติดต่อโดยมีสาเหตุมาจากยุงลาย Aedes Aegypti ตัวเมียกัด เมื่อยุงกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสเดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง พร้อมที่จะติดต่อไปยังคนอื่น แล้วนำเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นเด็ก โรคนี้มักจะระบาดในฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบได้ตลอดทั้งปี
อาการ
- มีไข้สูงเฉียบพลัน เกิน 5 องศาเซลเซียส หรืออาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชัก
- มีเลือดออกที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน
- ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อก
- สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุด คืออาการช็อก ที่ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลว
- บางรายมีภาวะตับโต กดเจ็บ ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับตั้งแต่เริ่มป่วย ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
- มีภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง โดยเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด ช่องท้อง เกิด hypovolemic shock ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดอาการช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค หรือวันที่ 8 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบา เร็ว และความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
วิธีรักษา
- การดูแลรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถให้การดูแลรักษาที่บ้านได้ ควรนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ทุก 1-2 วันเพื่อติดตามอาการ การดูแลผู้ป่วยประกอบด้วย การลดไข้ด้วยการเช็ดตัวและกินยาลดไข้ รับประทานอาหารอ่อน และดื่มน้ำให้เพียงพอ
- การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ดื่มน้ำได้ไม่เพียงพอ ปวดท้องหรืออาเจียนมาก มีภาวะเลือดข้น มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือมีภาวะช็อก ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
โรคฉี่หนู
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดิน น้ำ อาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า สัตว์ป่า เป็นต้น
อาการ
ผู้ติดเชื้อจากโรคฉี่หนูจะสามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่ 2-30 วันหลังได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหญ่
มักแสดงอาการในช่วงประมาณ 7-14 วัน ซึ่งอาการของโรคนี้อาจปรากฏตั้งแต่ไม่มีอาการเลย มีอาการขั้นอ่อนไปจนถึงขั้นรุนแรงถึงชีวิต โรคฉี่หนูส่วนมากมักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง มีเพียงอาการทั่ว ๆ ไปคล้ายโรคหวัดใหญ่ ดังนี้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
- เจ็บช่องท้อง
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- ตาแดงหรือระคายเคืองที่ตา
- มีผื่นขึ้น
- ไม่อยากอาหาร
- ท้องเสีย
อาการของโรคฉี่หนูที่ไม่รุนแรงดังข้างต้นเป็นอาการในระยะแรกและมักหายไปได้เองใน 5-7 วัน แต่มีผู้ป่วยราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ ที่อาการเหมือนจะดีขึ้นและหายดี หลังจากนั้นประมาณ 1-3 วันกลับทรุดลง เนื่องจากมีการพัฒนาของโรคไปสู่โรคฉี่หนูแบบรุนแรง และยังสามารถส่งผลกระทบถึงอวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต หรือปอดได้เลยทีเดียว อาการของโรคชนิดรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้
- มือ เท้า หรือข้อเท้าบวม
- เจ็บหน้าอก
- ดีซ่าน
- หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- มีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ชัก
- ไอเป็นเลือด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
- เจ็บช่องท้อง
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- ตาแดงหรือระคายเคืองที่ตา
- มีผื่นขึ้น
- ไม่อยากอาหาร
- ท้องเสีย
และยิ่งตอนนี้ มี โควิด-19 อีกด้วย ไม่ว่าเพื่อนๆ จะเดินทางออกไปไหนมาไหน อย่าลืม
ป้องกันดูแลสุขภาพตัวเองนะคะ บาคาร่าออนไลน์
อัพเดทล่าสุด : 3 มิถุนายน 2020