นิ้วล็อคคืออะไร
นิ้วล็อคคืออะไร เป็นอาการที่นิ้วเกิดเมื่องอนิ้ว แล้วไม่สามารถกลับมาเหยียดตรงได้ง่าย เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วก็เกิดการล็อค ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติ โดยทั่วไปแล้วนิ้วล็อคมักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง หรืออาจเกิดขึ้นกับนิ้วหลายนิ้วและนิ้วมือทั้ง 2 ข้างได้ในเวลาเดียวกัน
เกิดจากสาเหตุอะไร
การอักเสบของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อนิ้ว เป็นได้หลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่จะมาจากการใช้งานนิ้วมืออย่างหนัก เช่น
- ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบสัมผัส ถึงแม้ว่าการการสัมผัสหน้าจอโทรศัพท์ ไม่จำเป็นต้องใช้นิ้วมือทุกนิ้ว แต่อาการเกร็งจะเกิดขึ้นกับนิ้วที่ใช้ เช่น นิ้วชี้ นิ้วโป้ง จนทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว และมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัว
- แม่บ้านผู้ใช้งานมืออย่างหนัก ในการหิ้วของหนัก ซักผ้า หรือการทำงานบ้านอื่นๆ ทำให้นิ้วมือต้องเกร็งอย่างหนัก
- ผู้ชายที่ทำอาชีพที่ต้องใช้กำลังจากนิ้วมือ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสาว พนักงานโรงงาน ช่างซ่อมที่ต้องใช้ไขควง ช่าง นักกีฬากอล์ฟ นักกีฬายูโด
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื้อที่มือ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคเบาหวาน รวมไปถึืงโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วล็อคได้เช่นกัน
ถึงแม้ว่าโรคนี้จะมีกลุ่มเสี่ยงชัดเจน แต่ผู้ป่วยที่พบมากจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีอายุประมาณ 40-60 ปี
วิธีรักษา
ผู้ที่เกิดอาการนิ้วล็อคบางรายอาจมีอาการดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม วิธีรักษา
อาการนิ้วล็อคนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้
การบำบัด อาการนิ้วล็อคสามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่นอกเหนือไปจากการรับประทานยา ดังนี้
- พักผ่อน
พักมือจากการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือออกแรงหรือแบกน้ำหนักมาก ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยเว้นกิจกรรมดังกล่าวเพื่อพักการใช้งานมืออย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ วิธีแก้แฮงค์ หลังจากปาร์ตี้หนักๆ
- ประคบร้อนหรือเย็น
ผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคบางรายอาจใช้วิธีประคบเย็นที่ฝ่ามือ FOX888 ซึ่งช่วยให้อาการนิ้วล็อคดีขึ้น นอกจากนี้ การแช่น้ำอุ่นก็บรรเทาอาการให้ทุเลาลงโดยเฉพาะหากทำในช่วงเช้า
- ใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว
การใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว (Splinting) จะช่วยดามนิ้วให้ตรง ไม่งอหรือเหยียดเกินไป อีกทั้งช่วย
ให้นิ้วได้พัก หากเกิดอาการนิ้วล็อคหรือนิ้วแข็งตอนเช้าเป็นประจำ แพทย์จะให้ใส่อุปกรณ์ดังกล่าวดามนิ้วไว้ตลอดคืน เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้นิ้วเกร็งหรืองอเข้าไปเองขณะที่ผู้ป่วยหลับ แม้วิธีนี้จะช่วยให้อาการนิ้วล็อคดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยบางราย แต่การใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้วก็อาจได้ผลน้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ป่วยต้องการวิธีรักษาที่เห็นผลในระยะยาว
- ออกกำลังกายยืดเส้น
แพทย์อาจจะแนะนำให้ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อช่วยให้นิ้วเคลื่อนที่ได้ปกติ
- การรักษาด้วยยา
ผู้ที่เกิดอาการนิ้วล็อคสามารถรับประทานยาที่ต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาดังกล่าวไม่สามารถบรรเทาอาการบวมตรงปลอกหุ้มเอ็นนิ้วได้
- การศัลยกรรมและกระบวนการทางการแพทย์อื่น ๆ
ผู้ที่เกิดอาการนิ้วล็อครุนแรง หรือวิธีรักษาด้วยยาและการบำบัดใช้ไม่ได้ผล อาการไม่ดีขึ้น อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการศัลยกรรมและกระบวนการทางการแพทย์วิธีอื่น ดังนี้
- การฉีดสารสเตียรอยด์
การรักษาอาการนิ้วล็อคด้วยวิธีนี้เป็นการฉีด (Corticosteroids) จะช่วยให้เอ็นนิ้วสามารถเคลื่อนไหวได้
ตามปกติ โดยแพทย์อาจจะผสมยาชาสารดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บเมื่อทำการรักษา แพทย์อาจให้ใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว 2-3 วันเพื่อให้นิ้วได้พัก อาการนิ้วล็อคจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน โดยทั่วไปมักอาการดีขึ้นหลังทำไปได้หลายสัปดาห์ ได้ผลประมาณ 50-80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจได้ผลน้อยกว่าหากผู้ที่รับการรักษาป่วยเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- การผ่าตัด หากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนิ้วล็อค
ทำให้เอ็นนิ้วกลับมาเคลื่อนไหวได้ปกติ โดยแพทย์จะพิจารณาว่าผู้ป่วยมีระดับความรุนแรงของอาการและผลกระทบจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ สามารถรักษาอาการนิ้วล็อคได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้อยรายที่จะเกิด โดยทั่วไปผู้ป่วยไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล ทั้งนี้ แพทย์จะให้ยาชา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บแผลผ่าตัดที่มือหลังจากฟื้นขึ้นมา การผ่าตัดรักษานิ้วล็อคแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
8.1 การผ่าตัดแบบเปิด (Open Trigger Finger Release Surgery) แพทย์จะเริ่มฉีดยาชา ที่ฝ่ามือผู้ป่วย และผ่าตามแนวปลอกหุ้มเอ็นที่นิ้วให้เปิดกว้างออก หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว แพทย์จะเย็บแผลและปิดด้วยผ้าพันแผลให้เรียบร้อย
- การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือพิเศษ (Percutaneous Release) แพทย์จะฉีดยาชาที่มือผู้ป่วยเช่น
เดียวการผ่าตัดแบบเปิด แต่การผ่าตัดด้วยเครื่องมือพิเศษนี้จะไม่ได้กรีดมีดผ่าตัดลงไปเหมือนวิธีแรก แต่จะสอดเข็มแทงเข้าไปบริเวณโคนนิ้วที่เกิดอาการล็อค และใช้ปลายเข็มสะกิดเอ็นนิ้ว โดยแพทย์อาจจะทำการผ่าตัดพร้อมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เพื่อดูว่าปลายเข็มที่สอดเข้าไปใต้ผิวหนังนั้นเกี่ยวปลอกหุ้มเอ็นที่ต้องการโดยไม่ไปทำลายเอ็นหรือเส้นประสาทส่วนอื่นหรือไม่ แม้การผ่าตัดด้วยเครื่องมือพิเศษนี้จะไม่ทำให้เกิดรอยแผลเหมือนการผ่าตัดแบบเปิด แต่ถือว่าค่อนข้างเสี่ยงกว่าและอาจได้ผลน้อยกว่า เนื่องจากหลอดเลือดแดงและเส้นประสาทที่สำคัญอยู่ใกล้ปลอกหุ้มเอ็นมาก ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายได้ง่าย การผ่าตัดแบบเปิดจึงเป็นวิธีผ่าตัดรักษานิ้วล็อคที่ได้รับเลือกมากกว่า นิ้วล็อคคืออะไร
สำหรับเด็กที่เกิดอาการนิ้วล็อคนั้น จะดีขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้นโดยไม่ต้องได้รับการรักษา โดยเด็กอาจใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้วหรือออกกำลังกายมือเพื่อช่วยยืดเส้น การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์มักไม่ใช้รักษาอาการนิ้วล็อคที่เกิดในเด็ก แต่หากเด็กจำเป็นต้องได้รับการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดแทน เล่นบาคาร่าออนไลน์ได้ที่ ufastarbet
วิธีป้องกัน
ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือที่มีลักษณะทำให้เกิดแรงกดหรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก ซึ่งถ้าจำเป็นต้องใช้แท็บเล็ตต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ควรพักมือ เป็นระยะ ๆ และออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง บริหารครั้งละนิด เริ่มจากยืดกล้ามเนื้อ แขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้ว เหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำแบบนี้ 6-10 ครั้ง/เซต จากนั้นบริหารการกำแบมือ โดยฝึก เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ โดยทำแบบนี้ 6-10 ครั้ง/เซต หรือเลือกใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออกค้างไว้ โดยนับ 1-10 แล้วค่อย ๆ ปล่อย ทำแบบนี้ 6-10 ครั้ง/เซต